รหัสวิชา 20101-2001
วิชางานเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gasoline Engine)
1.หลักสูตรรายวิชา
2.หน่วยการเรียนรู้
3.เกณฑ์การวัดผลและประเมิณผล
1.หลักสูตรรายวิชา
2.หน่วยการเรียนรู้
3.เกณฑ์การวัดผลและประเมิณผล
หลักการทำงานของเครื่องยนต์4 จังหวะ
หลักการทำงานเครื่องยนต์4จังหวะ
หลักการทำงานเครื่องยนต์4จังหวะ
1.ชิ้นส่วนที่อยู่กับที่ ( Stationary parts )
1.1 เสื้อสูบ ( Cylinder block )
1.2 ฝาสูบ ( Cylinder head )
1.3 ปะเก็นฝาสูบ (Cylinder head gasket )
1.4 อ่างน้ำมันเครื่อง ( Oil pan )
2. ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ ( Moving parts )
2.1 ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่กลับไปกลับมา ( Reciprocating motion )
2.1.1 ลูกสูบ ( Piston )
2.1.2 ก้านสูบ ( Connecting rod )
2.1.3 ลิ้นและกลไกของลิ้น ( Valve and valve mechanics )
การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (2 Stroke Cycle Engine)
เครื่องยนต์ 2 จังหวะทำงาน 1 กลวัฏประกอบด้วย จังหวะดูด (Intake Stroke) จังหวะอัด (Compression Stroke) จังหวะระเบิด (Power Stroke) และ จังหวะคาย (Exhaust Stroke) เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ แต่เกิดขึ้นภายใน 1 รอบการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงสาเหตุที่เรียกว่า “เครื่องยนต์ 2 จังหวะ” เพราะจังหวะดูด และจังหวะอัด เกิดขึ้นต่อเนื่องกันเมื่อเครื่องยนต์หมุนได้ ½ รอบนับรวมเป็นจังหวะที่ 1 จังหวะระเบิด และ จังหวะคายเกิดขึ้นต่อเนื่องกันเมื่อเครื่องยนต์หมุนได้ ½ รอบนับรวมเป็นจังหวะที่ 2 เพราะฉะนั้น 1 กลวัฎของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบ
การวางตำแหน่งในลักษณะดังกล่าว มีกลไกควบคุมลิ้นดังนี้
1 เพลาลูกเบี้ยว (Camshaft)
2 ก้านกระทุ้งลิ้น (Push Rod)
3 กระเดื่องกดลิ้น (Rock Arm)
4 สปริงลิ้น (Spring)
5 เฟือง (Gear) หรือโซ่ (Chain)
การบริการลิ้นเป็นส่วนหนึ่งของการบริการฝาสูบ เมื่อถอดฝาสูบออกมาจากเสื้อสูบเฉพาะ เครื่องยนต์ที่มีลิ้นอยู่บนฝาสูบ (Over head valve) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริการลิ้นและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่นบ่าลิ้น(Valve Seat) ก้านลิ้น (Valve stem) หน้าลิ้น (Valve face) ถ้าหากว่าองค์ประกอบเหล่านี้ไม่สมบูรณ์ แสดงว่าฝาสูบชำรุดเช่นเดียวกัน การบริการฝาสูบจึงต้องใช้เครื่องมือพิเศษเข้ามาดำเนินการซ่อมบำรุง |
เนื้อหาในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนในหน่วยที่2 โครงสร้างของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ระบบจุดระเบิด มีหัวข้อหลัก 1 หัวข้อ คือ 1.เพลาข้อเหวี่ยง
หลักการทำงาน
หลักการทำงานของคาร์บูเรเตอร์(Carburetors)
คาร์บูเรเตอร์ทำงานโดยอาศัยหลักการเกิดสุญญากาศ กล่าวคือเมื่ออากาศไหลผ่านช่องแคบ (Venturi)ด้วยความเร็วสูง ทำให้เกิดสุญญากาศในบริเวณนั้น แต่ขณะเดียวกันพื้นที่ภายในห้องลูกลอยที่มีน้ำมันเก็บอยู่ มีความดัน 1 บรรยากาศ(Atmospheric pressure) ซึ่งสูงกว่า บริเวณช่องแคบที่เป็นสุญญากาศ ทำให้น้ำมันในห้องลูกลอยไหลออกไปผสมกับอากาศ จนเกิดเป็นฝอยละออง ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้
วีดีโอการทำงานของคาร์บูเรเตอร์
หลัการทำงานคาร์บูเรเตอร์
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเชื้อเพลิง (Fuel System) ความสำคัญของระบบน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นองค์ประกอบ 1 ใน 3 ของการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบ เครื่องยนต์ ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงจะเริ่มตั้งแต่ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Tank) ไปสิ้นสุดที่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์(Combustion Chamber) ดังนั้นหน้าที่ของระบบน้ำมันเชื้อเพลิงคือกระบวนการนำน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปเผาไหม้ภายในห้องเผาไหม้ |
ระบบการทำงานปั้มติก
ระบบการทำงานของหัวฉีด
ระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์ (Ignition System)
ระบบจุดระเบิด เป็นบ่อเกิดของพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ แรงระเบิดเกิดเป็นพลังงานความร้อน ผลักดันลูกสูบให้เคลื่อนที่เปลี่ยนเป็นพลังงานกล การเผาไหม้อย่างฉับพลันที่เรียกว่าการจุดระเบิด มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ที่เป็นเหตุให้เกิดพลังงานความร้อนภายในกระบอกสูบระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
วงจระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
อุปกรณ์เร่งไฟ (Vacuum advance) |
วีดีโอระบบจุดระเบิดเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ปั้มน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
ปั้มน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ มีหน้าที่ดูดและส่งน้ำมันหล่อลื่นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว เพื่อลดความฝืดระหว่างชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์
หน้าที่ของระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์
1 ลดความฝืดพื้นผิวสัมผัสของชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนไหว
2 เป็นซีลป้องกันการรั่วระหว่างผนังกระบอกสูบกับแหวนลูกสูบ
3 ระบายความร้อนภายในเครื่องยนต์
4 ชะล้างสิ่งสกปรก คราบเขม่า เศษโลหะภายในเครื่องยนต์
หน้าที่ระบบระบายความร้อน
เพื่อระบายความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบของเครื่องยนต์ ไม่ให้สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ภายในกระบอกสูบสูงถึงประมาณ 3,000. องศาเซลเซียส (C ) ซึ่งถ้าไม่มีการระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ จะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดสึกหรอและไม่อาจทำงานเป็นเวลานานติดต่อกัน
ความสำคัญของระบบไอดี
ส่วนประกอบ และช่องทางของระบบไอดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ระบบไอดี
เป็นระบบส่งไอดี เข้าห้องเผาไหม้
ในสภาพของฝอยละออง ให้มีปริมาณเพียงพอต่อการเผาไหม้
และยังสามารถปรับปริมาณให้มากน้อยได้ตามความเหมาะสมของภาระงานที่เกิดขึ้น
ระบบสตาร์ทเครื่องยนต์(Starting system)
การสตาร์ทเครื่องยนต์คือการที่ทำให้เครื่องยนต์หมุนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานต่อไปได้ การสตาร์ทเครื่องยนต์มีอยู่หลายวิธี เช่น
1. การสตาร์ทด้วยการใช้มือหมุน
2. การสตาร์ทด้วยการใช้เท้าเหยียบ
3. การสตาร์ทด้วยการใช้เชือกดึง
4. การสตาร์ทด้วยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า
5. การสตาร์ทด้วยการใช้ลม และน้ำมัน แรงดันสูง
6. การสตาร์ทด้วยการใช้เครื่องยนต์เล็กขับเครื่องยนต์ใหญ่
การตั้งไฟจุดระเบิด
(ตั้งองศาการจุดระเบิด) หลายๆท่านคงทำเองกันอยู่แล้ว แต่มือใหม่หลายท่าน
(รวมทั้งผมด้วย) อาจยังไม่เคยตั้งไฟเอง จะได้ลองทำเองได้ ก่อนเข้าเรื่องวิธีการตั้งไฟ ขอเล่าที่ไปที่มาของการเขียนเรื่องครั้งนี้ก่อนนะครับเรื่องของเรื่องคือเจ้าซูที่ผมใช้อยู่ใช้เครื่องยนต์รุ่น G16A คาร์บูเรเตอร์ (โดยรวมก็ไม่ต่างกับ G13A-B ที่หลายท่านใช้อยู่) หลังจากได้รถมาไม่ไม่ค่อยได้สนใจเรื่องเครื่องยนต์มากนักเพราเห็นว่ากำลังเครื่องยังดี วิ่งเกินร้อยได้อย่างสบายๆ ยังไม่กล้าวิ่งสุดๆว่าได้เท่าไหร่เพราะยังกังวลเรื่องของระบบช่วงล่างที่ยังไม่เข้าที่ ช่วงหลังผมเริ่มสะสมเครื่องมือซ่อมไว้เกือบครบเลยสนุกสนานกับการเล่นช่วงล่างอยู่ อยู่มาวันหนึ่งหลังจากเล่นกับแหนบเสร็จ เลยคันไม้คันมือมาทำความสะอาดตัวเครื่อง จนพบว่าน้ำมันเครื่องซึมที่ฐานจานจ่ายเลยจัดการให้หายซึม ไหนๆก็เล่นกับจานจ่ายแล้วเลยทำการตั้งไฟใหม่ซะเลย เป็นครั้งแรกที่ผมทำการตั้งไฟจริงๆจังๆกับเจ้าซูของผม ก่อนนั้นก็แค่เคยหมุนเรือนจานจ่ายปรับไฟอ่อนแก่นิดๆหน่อยๆเนื้อหาสาระ
1 การบำรุงรักษารถยนต์ประจำวัน
ระบบต่าง ๆ ที่เราควรทำการตรวจสภาพ และบำรุงรักษาเครื่องยนต์ แก๊สโซลีน คือระบบระบายความร้อน ระบบหล่อลื่น ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้น ระบบเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เพราะถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น หรือเกิดข้อขัดข้องเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ เหล่านี้เครื่องยนต์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ
1.1 ระบบระบายความร้อน
ระบบระบายความร้อน ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์ เพี่อลดการสึกหรอของชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ และทำให้เครื่องยนต์ได้ทำงานในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสภาวะต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ การบำรุงรักษาเกี่ยวกับ ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ควรปฏิบัติดังนี้